30.10.62

ระบบ AS/RS


                                


ระบบเทคโนโลยีกับการจัดการคลังสินค้า
               ระบบเทคโนโลยีเพื่อการจัดการคลังสินค้า นอกจากจะใช้ระบบซอฟแวร์ในการบริหารคลังสินค้าแล้ว ปัจจุบันทุกคลังสินค้าได้นำระบบBarcode มาใช้เพื่อเป็นการสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ทางธุรกิจ ซึ่งถือว่าเป็นระบบเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงมากในเรื่องการลดความผิดพลาด สามารถเก็บรวบรวมข้อมูล ตรวจเช็คสินค้าโดยไม่ต้องใช้คนนับ ลดความผิดพลาดในการทำงานได้มาก นอกจากนี้ยังมีคลังสินค้าสมัยใหม่เป็นจำนวนมากที่เริ่มนำเทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identification) มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในคลังสินค้าให้สะดวก และรวดเร็ว ลดความผิดพลาดจากการทำงาน สามารถสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ภายในคลังสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการดำเนินงาน ลดความซ้ำซ้อนจากการทำงาน ระบบเทคโนโลยีที่ใช้กับคลังสินค้าสามารถแบ่งได้เป็น 4 ส่วน ดังนี้
                          1. เทคโนโลยีที่เป็นโปรแกรมคุมเครื่อง
                          2. เทคโนโลยีที่เป็นโปรแกรมจัดการวัสดุและสินค้าคงคลัง
                          3. ระบบฐานข้อมูล (Database System)
                          4. เทคโนโลยีในการบ่งบอกและติดตามสินค้า

       โดยมีรายละเอียดและสาระสำคัญของระบบเทคโนโลยีที่ใช้ในคลังสินค้า ดังนี้
                          1. เทคโนโลยีที่เป็นโปรแกรมควบคุมเครื่อง ประกอบด้วย ส่วนสำคัญ 4 ส่วน ดังนี้
                           1.1 Computer Aided Design (CAD) หมายถึง การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบขึ้นเพื่อใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งช่วยประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ลดความสูญเสียและเสียหายในส่วนงานขององค์การ ใช้มากในกระบวนการผลิต
                           1.2 Computer Aided Manufacturing (CAM) หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์เข้าควบคุมเครื่องจักรและเครื่อง มือต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในกระ บวนการผลิตแต่ละจุด ช่วยในการวางผังในกระบวนการ ระบบการใช้ในปัจจุบันจะใช้เชื่อมโยงระหว่างกระบวนการผลิตกับการจัดซื้อ การจัดเก็บรักษา และสินค้าคงคลังต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาวะที่สมดุล และเหมาะสม
                        1.3 ระบบการจัดเก็บสินค้าอัตโนมัติ AS/RS (Automatic Storage & Retrieval System) เป็นวิธีการควบคุมทางคอมพิวเตอร์สำหรับการเก็บ และการนำเอาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ออกมาจากสถานที่จัดเก็บ

                          1.4 ระบบควบคุมพาหนะนำทางอัตโนมัติ AGVs (Automated guided vehicles) เป็นส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ในการควบคุมการทำงานของพาหนะทำงานอัตโนมัติ ที่เชื่อมต่อกับระบบขนถ่ายอื่น ๆ เช่น สายพาน การนำทางพาหนะสามารถใช้ระบบนำทางด้วยเลเซอร์ การฝังสายไฟใต้พื้น หรือฝังแม่เหล็กลงในพื้นคลังสินค้าและควบคุมการทำงานของพาหนะที่ใช้ในการขนถ่ายสินค้าด้วยคอมพิวเตอร์ พาหนะเหล่านี้เป็นรถบรรทุกพลังงานไฟฟ้าไม่ใช้คนขับ ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ทำงานตามคำสั่งด้วยระบบคลื่นวิทยุ หรือการฝังสายใต้พื้น อุปกรณ์ควบคุมจะจับสัญญาณบนพาหนะว่ามีการเคลื่อนที่ตามกำหนดหรือไม่ สัญญาณจะถูกส่งไปยังมอเตอร์พวงมาลัยเพื่อบังคับทิศทางให้สามารถไปหยิบสินค้าจากสถานที่จัดเก็บไปส่งยังสถานที่ที่กำหนดระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ 

              ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ
      ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ (Automated Storage/Retrieval System  เรียกโดยย่อว่า AS/RS)  คือ การทำงานของระบบการจัดเก็บในคลังสินค้าหรือโกดัง ที่มีการควบคุมด้วยระบบการจัดเก็บวัสดุ การรับวัสดุ รวมทั้งการเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ขนถ่าย ที่ทำงานร่วมกับโรงงานและคลังสินค้า ซึ่งสามารถออกแบบการใช้งานให้เหมาะสมกับการทำงานลักษณะต่างๆได้ โดยทั่วไปแล้วปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการจัดเก็บและเรียกใช้ของอุปกรณ์ แบบ AS/RS จะพิจารณาจากลักษณะโครงสร้างของหิ้งที่ใช้จัดเก็บ ความเร็วในการเคลื่อนของอุปกรณ์ AS/RS ทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ

            ระบบ AS/RS แบ่งออกเป็นแบบต่าง ๆ ดังนี้
                       - Unit Load AS/RS
                       - Miniload AS/RS
                       - Man-on-Board AS/RS หรือ Manaboard AS/RS
                       - Automated Item Retrieval System
                       - Deep-Lane AS/RS

            องค์ประกอบพื้นฐานของระบบ AS/RS
                     1. โครงสร้างที่เก็บวัสดุ (Storage Structure)
                     2.  เครื่อง S/R (Storage/Retrieval Machine)
                     3.  หน่วยของการเก็บวัสดุ (Storage Module)
                     4.  สถานีหยิบและฝากวัสดุ (Pickup and Deposit Station)

           อุปกรณ์พิเศษของระบบ AS/RS
                    1. รถเคลื่อนย้ายช่องทางขนส่งวัสดุ (Aisle Transfer Car)
                    2. อุปกรณ์ตรวจสอบถังบรรจุวัสดุว่างเปล่า/เต็ม
                    3. สถานีวัดขนาดโหลด (Sizing Station)
                    4. สถานีบ่งชี้โหลด (Load Identification Station)

           การประยุกต์ใช้ระบบ AS/RS
                   การแยกใช้งานของระบบ AS/RS ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
                           1. จัดเก็บและเรียกคืน Unit Load
                           2. หยิบวัสดุตามสั่ง (Order picking)
                           3. ระบบจัดเก็บวัสดุระหว่างกระบวนการ

          การจัดเก็บวัสดุระหว่างกระบวนการ
                   1.ใช้เก็บชุดของชิ้นงานประกอบ
                   2. สนับสนุนการผลิตแบบ JIT
                   3. ใช้เป็นบัฟเฟอร์สำหรับจัดเก็บวัสดุ
                   4. สามารถใช้งานร่วมกันกับระบบบ่งชี้ชิ้นงานแบบอัตโนมัติ
                   5.ทำให้เกิดการควบคุมและการติดตามวัสดุอย่างมีประสิทธิภาพ
                   6. สนับสนุนการทำให้เกิดการทำงานแบบอัตโนมัติทั้งโรงงาน

   ภาพประกอบ AS/RS   

ภาพประกอบของระบบ AS/RS 

 ภาพที่ 1
 ภาพประกอบของระบบ AS/RS 
 ภาพที่ 2
                                                         ภาพประกอบของระบบ AS/RS

                                                                                      ภาพที่ 3
ภาพประกอบของระบบ AS/RS 

  
ภาพที่ 4


                         วิดีโอระบบ AS/RS







ข้อดีของระบบ AS/RS
                 Automated Storage and Retrieval System เป็นระบบที่สามารถรับและจัดเก็บสินค้าเข้าคลังได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ ลดระยะเวลาการทำงาน และลดจำนวนพนักงานงานในการจะเก็บสินค้า ระบบ AS/RS จะคำนวณการจัดเก็บสินค้าที่มีอัตราการเคลื่อนไหวสูงไว้ในตำแหน่งที่เหมาะสม สะดวกต่อการหยิบ อีกทั้งยังช่วยป้องกันความเสียหายในการขนย้ายสินค้า และช่วยจัดเรียงสินค้าให้เป็นระบบและระเบียบมากขึ้น ระบบสามารถนำไปใช้ร่วมกับ โปรแกรมระบบจัดการในคลังสินค้า (Warehouse Management System Software,

ประโยชน์ที่จะได้รับ
                    เพิ่มความรวดเร็วในการคัดแยกสินค้าลดเวลาการทำงานและลดงานที่ซ้ำซ้อนคัดแยกถูกต้องแม่นยำ100%ประหยัดพื้นที่คัดแยกสินค้า
                    ลดพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าลดพื้นที่ในการขนถ่ายสินค้าเพิ่มปริมาณการจัดเก็บสินค้าเพิ่มประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายสินค้าทำงานรวดเร็ว แม่นยำบริหารทรัพยากรบุคคลประหยัดพลังงาน
                    ระบบ AS/RS เหมาะกับงานอุตสาหกรรมใหญ่ๆ  ที่มีการขนถ่ายสินค้าครั้งละมากๆ เพื่อความสะดวกรวดเร็วแม่นยำและประหยัดพลังงานคนในการขนย้าย
       




22.10.62

ระบบขนถ่ายอัตโนมัติ


ระบบสายพานลำเลียง 

ระบบสายพานลำเลียง  คือ อุปกรณ์ลำเลียง (Conveyorที่ใช้สายพาน (Belt) เป็นตัวนำพาวัสดุระบบสายพานลำเลียงทำหน้าที่เคลื่อนย้ายวัสดุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง  หลังจากวัสดุหรือชิ้นงานผ่านกระบวนการตามขั้นตอนมา เมื่อมาถึงการขนย้ายหรือลำเลียงก็จะใช้ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) ในการเคลื่อนย้ายวัสดุหรือชิ้นงาน 
2. ระบบสายพานลำเลียง Canvas Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ)
ระบบสายพานลำเลียง Canvas Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุ ระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบ สามารถทนความร้อนได้และมีความยืดหยุ่นค่อนข้างน้อยเมื่อรับแรงดึง ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบจะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยสามารถขยับตัวระบบลำเลียงให้ตรงกับไลน์การผลิตได้ เหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทยาง , อาหาร เป็นต้น

ระบบสายพานลำเลียง PVC Belt Conveyor System (แบบ PVC) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC สามารถทนความร้อนได้และราคาถูก ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC จะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เหมาะสำหรับงานลำเลียงในอุตสาหกรรมอาหาร สินค้าที่บรรจุหีบห่อที่มีน้ำหนักเบาและต้องการความสะอาด 4. ระบบสายพานลำเลียง Metal Detector Belt Conveyor System

ระบบสายพานลำเลียง Metal Detector Belt Conveyor System (เครื่องตรวจหาโลหะ) มีระบบสายพานลำเลียง 2 แบบ คือ 1.แบบพลาสติก 2. แบบ PVC สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุเข้าเครื่องตรวจหาโลหะ หลังจากชิ้นงานหรือวัสดุผ่านกระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ มาแล้ว เมื่อมาถึงเครื่องตรวจหาโลหะ ในรูปแบบบรรจุภัณฑ์หรือรูปแบบชิ้นาน เช่น ซองพลาสติก กล่องกระดาษ ขวดแก้ว ยาง เครื่องตรวจหาโลหะใช้พลังงานแม่เหล็ก โดยทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก (Electro Magnetic Field) เมื่อมีโลหะ เช่น เหล็กปนอยู่ในแผ่นยาง เครื่องจะทำการแจ้งเตือนในรูปแบบต่างๆ เช่น ร้องเตือน ผลักออก หรือหยุดเครื่อง


คอนเวเยอร์ หรือ ระบบลำเลียงแบบสายพาน ที่มีประสิทธิภาพสูงถูกออกแบบมาสำหรับผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด เช่น อาหาร หรือ สินค้าที่มีน้ำหนักเบาอื่นๆ สายพานประเภทนี้สามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งระบบอัตโนมัติ เหมาะสำหรับ LINE ที่มีความยาว หรือสำหรับการเชื่อมต่อระหว่างกระบวนการต่างๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิต คอนเวเยอร์ หรือ ระบบลำเลียงสินค้าเปรียบเสมือนระบบประสาทส่วนกลางสำหรับการดำเนินงานของคุณ มันต้องทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ทุกอย่างสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลมากที่สุด

 จุดมุ่งหมายหลักของคอนเวเยอร์ หรือ ระบบสายพานลำเลียง คือ ช่วยในกระบวนการต่างๆ ให้มีความคล่องตัวมากขึ้น และลดต้นทุนในธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับการขนส่ง จัดการจัดเก็บ การผลิตหรือการกระจายสินค้าการออกแบบระบบลำเลียงที่ดี ต้องใช้ความรู้และประสบการณ์อย่างมากเพื่อปรับให้ตรงตามความต้องการของธุรกิจนั้น

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสายพานคอนเวเยอร์
การส่งกำลังทางกลจากเพลาอันหนึ่งไปยังเพลาอีกอันหนึ่ง  อาจทำได้สามวิธี คือ โดยใช้เฟือง ใช้สายพาน และใช้โซ่ การส่งกำลังโดยสายพานเป็นการส่งกำลังแบบอ่อนตัวได้ (Flexible) ซึ่งมีข้อดีและข้อเสียหลายประการเมื่อเปรียบเทียบกับการส่งกำลังโดยใช้เฟืองและโซ่
 ข้อดี คือ มีราคาถูกและใช้งานง่าย รับแรงกระตุกและการสั่นสะเทือนได้ดี ขณะใช้งานไม่มีเสียงดัง เหมาะสำหรับการส่งกำลังระหว่างเพลาที่อยู่ห่างกันมากๆ และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาต่ำ อย่างไรก็ตาม
ข้อเสีย ของการขับด้วยสายพานก็มีคือ อัตราการทดที่ไม่แน่นอนนักเนื่องจากการสลิป (Slip) และการ
ครีฟ (Creep) ของสายพานและต้องมีการปรับระยะห่างระหว่างเพลาหรือปรับแรงดึงในสายพานระหว่างการใช้งาน นอกจากนั้นยังไม่อาจใช้งานที่มีอัตราทดสูงมากได้ ซึ่งมักใช้กับอัตราทดไม่เกิน 5

ระบบสายพานลำเลียงจึงเหมาะสำหรับ โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท ที่ใช้ระบบสายพานลำเลียงในกระบวนการผลิต

ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) มี 4 ประเภท

1. ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก)
ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor (แบบพลาสติก)

   ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุขึ้นในแนวลาดเอียง ในไลน์การผลิตที่มีการลำเลียงต่างระดับ ระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก สามารถลำเลียงผ่านน้ำหรือลำเลียงชิ้นงานที่เปียกได้ และยังไม่เป็นสนิท ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก จะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยการลำเลียงจะมีลักษณะแนวลาดเอียง ลำเลียงจากที่ต่ำขึ้นสู่ที่สูง องศาลาดเอียงของระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก จะเริ่มตั้งแต่ 10 องศา และไม่เกิน 45องศา เหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทยาง , อาหาร , บรรจุภัณฑ์หีบห่อ หรือ ลำเลียงสิ่งของที่ต้องผ่านเครื่อง X-Ray 


ระบบสายพานลำเลียง Canvas Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ)


3. ระบบสายพานลำเลียง PVC Belt Conveyor System (แบบ PVC)

ระบบสายพานลำเลียง PVC Belt Conveyor System (แบบ PVC)


ระบบสายพานลำเลียง Metal Detector Belt Conveyor System





รถ AGV

รถ AGV  (Auto Guiding Vehicle) หรือเรียก กันว่า เป็นเครื่องจักรประเภท รถอัตโนมัติชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายอุปกรณ์ประเภทรถ Fork lift ความแตกต่างอยู่ที่รถ AGV จะถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์และถูกกำหนดเส้นทางในการขนส่งที่ชัดเจน โดยไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานคนในการควบคุม การเลือกใช้อุปกรณ์ประเภทรถ AGV ต้องติดตั้งเส้นทางการวิ่งของรถ AGV ซึ่งอาจ มีการฝังสายไฟไว้ใต้พื้น โรงงาน ตามเส้นทาง การวิ่งของรถ AGV การ ควบคุมรถ AGVสามารถควบคุมได้ทีละหลาย ๆ คันโดยใช้คำสั่งในการควบคุมเพียงชุดเดียว และ ให้รถ AGV แต่ละคันสามารถสื่อสารถึงกันได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันของรถ AGV หรือเพื่อป้องกันการกีดขวางการจราจรหากมีรถ AGVอีกคันจอดขวางอยู่ในจุดรับส่งวัสดุ

ประเภทของการใช้งานรถ AGV
ประเภทระบบลำเลียงแบบโซ่
(Chain Conveyor)
ใช้สำหรับขนย้ายพาเลทไป/มา

ประเภทระบบลำเลียงแบบลูกกลิ้ง
(Roller Conveyor)
ใช้สำหรับขนย้ายพาเลทไป/มา

ประเภทโฟล์ค (Fork)
ใช้สำหรับยก/วาง ระหว่างพื้นและอุปกรณ์ลำเลียง

ประเภทขนย้ายม้วนวัสดุ
(Roll Handling)
ใช้สำหรับขนย้ายม้วนวัสดุ ไป/มา ระหว่างเครื่องจักร

ประเภทบรรทุก (Tunnel Tow)
ใช้สำหรับลากจูงโดยจะวางอยู่ข้างใต้รถเข็น/รถลาก

ประเภทลากจูง (Front Tow)
ใช้เป็นพาหนะลากจูงรถเข็น (คล้ายรถไฟ) สามารถใช้เป็นแบบอัตโนมัติหรือพนักงานบังคับก็ได้ แล้วแต่วัตถุประสงค์

ประเภท Mini-load
Mini-load AGV เหมาะสำหรับการจัดส่งชิ้นส่วนอุปกรณ์ไปยังโรงประกอบ

 การใช้งานรถ AGV เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อระบบ สามารถทำได้ดังต่อไปนี้
 1) การเพิ่มจำนวนของรถ AGV
2) การเพิ่มความเร็วของรถ AGV
3) การเปลี่ยนแปลงวิธีการวิ่งของรถ AGV จากทิศทางเดียวเป็น 2 ทิศทาง
4) การเพิ่มความจุของรถ AGV

 หลักการใช้งานและการควบคุมความปลอดภัยของรถ AGV ระบบ AGV (Automated Guided Vehicle System หรือ AGVS) เป็นระบบขนถ่ายวัสดุที่ใช้รถทำงานได้โดย ให้รถแต่ละคันมีอิสระต่อกัน สามารถขับเคลื่อน ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งถูกนำทางด้วย เส้นทางขนส่งที่ฝังอยู่บนพื้นของโรงงาน รถจะใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ที่ติดตั้งอยู่ในตัวรถซึ่งจะทำให้รถวิ่งได้ในระยะหนึ่งจากนั้นต้องทำการอัดแบตเตอรี่ใหม่การกำหนดเส้นทางขนส่งของระบบ AGV นี้อาจจะทำได้โดยใช้สายไฟฟ้าฝังอยู่กับพื้นโรงงาน หรือใช้สีสะท้อนแสงทาบนพื้นโรงงานก็ ได้รถจะใช้เซนเซอร์ (Sensor) เป็นอุปกรณ์ในการนำทาง รถ AGV ที่ 



หุ่นยนต์สุนัข ไอโบ้ aibo


รอยเตอร์ - บริษัท โซนี่ คอร์ป ของญี่ปุ่นระบุในวันนี้ (1 พ.ย.) ว่าจะนำไอโบ (AIBO) กลับมาหลังจากพวกเขาสร้างหุ่นยนต์สุนัขนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อกว่าสิบปีที่แล้ว ในขณะที่บริษัทอิเล็กทรอนิกส์และความบันเทิงแห่งนี้พยายามกอบกู้ชื่อเสียงด้านนวัตกรรมหลังจากหลายปีของการปรับโครงสร้างใหม่
คำประกาศนี้มีขึ้นหนึ่งวันหลังจากโซนี่ยืนยันถึงการฟื้นคืนของพวกเขาจากการคาดการณ์ผลกำไรสูงสุดในปีการเงินนี้ ส่งผลให้หุ้นดีดขึ้นสูงสุดในรอบ 9 ปี

ไอโบถูกบรรยายว่าเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีพฤติกรรมคล้ายสุนัขจริงๆ ด้วยการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) เพื่อเรียนรู้และมีปฏิสัมพันธ์กับเจ้าของและสิ่งรอบตัว การพัฒนาครั้งนี้จะได้เห็นไอโบที่มีเทคโนโลยีการรับรู้และการเคลื่อนไหวแบบใหม่รวมไปถึงเอไอขั้นสูงกว่าเดิมที่เป็นผลมาจากการประมวลผลแบบคลาวด์เพื่อพัฒนาบุคลิกลักษณะของสุนัข ในญี่ปุ่นจะเริ่มวางขายในเดือนมกราคมในราคา 198,000 เยน (ประมาณ 57,600 บาท)


โซนี่บุกเบิกตลาดหุ่นยนต์เพื่อความบันเทิงด้วยไอโบในปี 1999 โซนี่ขายมันได้ราว 150,000 ตัวในญี่ปุ่นก่อนที่จะลดการผลิตลงใน 7 ปีต่อมาเมื่อธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคเผชิญการแข่งขันด้านราคากับคู่แข่งหน้าใหม่ในเอเชีย


“มันเป็นการตัดสินใจที่ยากลำบากในการยุติโครงการดังกล่าวในปี 2006 แต่เรายังคงพัฒนาเอไอและวิทยาการหุ่นยนต์อยู่” คาสุโอะ ฮิราอิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวในการบรรยายสรุปข่าว
“เมื่อหนึ่งปีครึ่งที่ผ่านมาเราได้ขอให้วิศวกรของเราพัฒนาไอโบ (รุ่นใหม่) เนื่องจากเราเชื่อว่าหุ่นยนต์ที่สามารถสร้างความสัมพันธ์รักใคร่กับมนุษย์จะช่วยให้ภารกิจของโซนีกลายเป็นจริง”
ไอโบรุ่นใหม่จะมีเทคโนโลยีหัวฉีดล่าสุดที่ช่วยให้การเคลื่อนไหวนุ่มนวลและเป็นธรรมชาติเหมือนสุขัขจริงๆ และด้วยเทคโนโลยีการรับรู้และเทคโนโลยีเอไอ ไอโบจะสามารถวิ่งไปหาเจ้าของและตรวจจับรอยยิ้มและคำชมเชย และสามารถจดจำการกระทำที่ทำให้เจ้าของพึงพอใจ ดวงตาของมันสร้างจากจอที่มีส่วนประกอบเป็นสารอินทรีย์ (organic light emitting diode หรือ OLED) ที่ทำให้มันสามารถแสดงสีหน้าได้อย่างหลากหลาย


5.10.62


หุ่นยนต์เก็บพริก 
นักวิจัยจากยุโรปและอิสราเอลได้สร้างหุ่นยนต์ที่สามารถเลือกพริกสุก โดยหุ่นยนต์ต้นแบบนี้เรียกว่า Sweeper ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรปซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนวัตกรรม Horizon 2020
ในการทำงาน Sweeper ใช้กล้องที่สามารถรับรู้สีของพริก การมองเห็นด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยให้หุ่นยนต์ตัดสินว่าผลไม้สุกสำหรับเก็บได้แล้วหรือไม่ ถ้าใช่ Sweeper จะใช้มีดโกนขนาดเล็กเพื่อตัดก้านก่อนที่จะจับผลไม้ไว้ใน “กรงเล็บ” แล้ววางลงในตะกร้าด้านล่าง
ในการเลือกพริกเพียงครั้งเดียวจะใช้เวลาประมาณ 24 วินาที แต่นักวิจัยบอกว่าพวกเขาชะลอการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย
Sweeper ติดตั้งไฟ LED เพื่อให้สามารถทำงานได้โดยไม่คำนึงถึงเวลาในแต่ละวัน โดยสามารถทำงานเป็นเวลาประมาณ 20 ชั่วโมงต่อวัน ถึงกระนั้นหุ่นยนต์ต้นแบบนี้ก็ยังห่างไกลจากความสมบูรณ์ โดยเก็บผลสุกได้ถูกต้องเพียง 61 เปอร์เซ็นต์
นอกจากหุ่นยนต์เก็บพริกแล้ว พวกเขาก็กำลังทดสอบหุ่นยนต์เก็บสตรอเบอร์รี่ หุ่นยนต์เก็บฝ้าย และเก็บมะเขือเทศ

2.10.62

บทที่ 5 เครื่องจักร CNC DNC NC

เครื่องจักร CNC


CNC ย่อมาจากคำว่า Computer Numerical Control หมายถึง การควบคุมการทำงานของเครื่องจักรด้วยคำสั่งเชิงตัวเลขด้วยคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ และ ระบบอิเลคทรอนิกส์ จะทำการประมวลผล และ สั่งการเพื่อให้เครื่องจักรทำงาน หรือ เกิดการเคลื่อนที่จากชุดคำสั่งต่าง ๆ หรือ กระทำตามเงื่อนใขที่ถูกกำหนด
หลักการทำงาน ของ CNCการผลิตชิ้นงานจะถูกควบคุมการสั่งการด้วย Computer ประกอบด้วย ระยะของการเคลื่อนที่ต่างๆ หรือ อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น หัวกัด Print head ใน 3d Printer ซึ่งจะถูกคำนวณ และ สั่งการจากชุดคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ขั้นต้นจนสิ้นสุดการทำงาน  โดยชุดควบคุมจะได้รับข้อมูลขั้นตอนการทำงาน และ การสั่งการ จากโปรแกรม ที่เราเรียกว่า NC Code หรือ G code (Link) ที่เรารู้จักกัน ซึ่งต้องวางแผนทุกขั้นตอนก่อนทุกครั้ง และ สร้างเป็นโปรแกรม เพื่อให้ชุดควบคุมทำงานได้สำเร็จสำหรับแกนหมุนจะมีตั้งแต่  2 แกน – 12แกน สามารถทำงานได้ 2 มิติ ,และ 3มิติ  โดยทั่วไปจะ สร้างโปรแกรมด้วยคอมพิวเตอร์ และ นำข้อมูลผ่าน Post processor จึงจะได้ NC-CODE มาใช้งาน วัสดุที่นำมาใช้กับ CNC เพื่อสร้างชิ้นงาน เช่น ไม้ , แผ่น Acrylic, พลาสติก, พลาสติกวิศวกรรม ,ทองเหลือง และ อลูมิเนียม เป็นต้น ซึ่งชิ้นงานที่ได้จะเป็นงานในลักษณะ 2 มิติ หรือ 3 มิติ แล้วแต่กำหนด. ขึ้นอยู่กับขนาด และความสามารถของเครื่อง ที่มีความหลาหหลาย

ตัวอย่างการทำงานของ CNC



มีข้อดีดังนี้:
① ลดจำนวนของเครื่องมือ, การประมวลผลส่วนที่ซับซ้อนของรูปร่างไม่จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ซับซ้อน ถ้าคุณต้องการเปลี่ยนรูปร่างและขนาดของชิ้นส่วนคุณจะต้องปรับเปลี่ยนโปรแกรมการประมวลผลชิ้นส่วนที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และการปรับเปลี่ยน
② คุณภาพการประมวลผลมีเสถียรภาพความแม่นยำเครื่องจักรกลสูงความแม่นยำในการทำซ้ำสูงจะปรับการร้องของานฝีมือพันธุ์อื่น ๆ 
ข้อเสียของการใช้เครื่องจักร CNC 
คืออุปกรณ์เครื่องมือกลมีราคาแพงและต้องการให้บุคลากรในการบำรุงรักษามีระดับที่สูงขึ้น


เครื่องจักร DNC


ความหมายของ DNC

Distribution Numerical Control: DNC SYSTEM 
คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์กลางในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและกระจายข้อมูลซึ่งในที่นี้คือ โปรแกรม NC Data กับหน่วยควบคุม NC ของเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละตัวได้เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการข้อมูลทั้งรับข้อมูล และส่งข้อมูลจำเพราะให้กับเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละเครื่องในเครือข่ายตามที่แต่ละเครื่องต้องการพร้อมๆ กันได้ในเวลาเดียวกัน

          SUPER-DNC SOFTWARE คือ โปรแกรมควบคุมระบบ DNC ที่มีความทันสมัย มีสเถียรภาพและสามารถสื่อสารกับเครื่องจักรกลระบบ CNC ได้หลากหลายรุ่นและหลายยี่ห้อ ทั้งเครื่องที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดหรือเครื่องเก่าที่มีอายุใช้งานและถูกสร้างขึ้นมานานนับ 10 ปีแล้วก็ตาม
       SUPER-DNC ทำให้โรงงานไม่ว่าจะเป็นงานผลิตแม่พิมพ์ Mould, DIE, Punch Die หรือ Part Production ก็ตาม สามารถใช้เครื่องจักร และ NC Data ซึ่งเป็นทรัพย์สินอันมีค่าของโรงงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่โรงงานและองค์กร สร้างความสามารถในการแข่งขันให้แก่องค์กรได้เป็นอย่างดีและยังทำให้พนักงานทำงานได้สะดวกขึ้นเป็นการเสริมขวัญและกำลังใจพนักงานให้มีความรักองค์กรและมุ่งมั่นในการสร้างผลงานที่ดีแก่องค์กรอีกด้วย
คุณลักษณะมาตรฐาน Standard Features of SUPER-DNC Syste
1. การเรียกโปรแกรม NC Data ที่ต้องการ โดยรับส่งโดยตรงระหว่างเครื่องจักรกลระบบ CNC กับคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ (SUB Program Calling) โดยการเรียกโดยตรงที่หน้าเครื่องจักรกลระบบ CNC
2. การให้บริการกระจายข้อมูลโปรแกรม NC Data ในแบบเครื่องข่ายโดยมี Server เป็นศูนย์กลางการติดต่อรับส่งข้อมูลโปรแกรม NC Data กับเครื่องจักรกลระบบ CNC ทุกเครื่องในเครือข่าย โดยมีสถานี Client Station ซึ่งเป็นสถานี Generate (สร้าง) หรือ INPUT หรือ EDIT ข้อมูลโปรแกรม NC Data เพื่อส่งเข้าสู่ Server กลางได้ (Client – Server Configuration System)
3. การเริ่มกัดงานใหม่ต่อจากการกัดที่หยุดค้างไว้เดิม (Start Cutting from any program line) กรณีที่มีการหยุดกัดงานกลางคัน เช่น Tool สึกหรือ Tool แตก จำเป็นต้องหยุดค้างโปรแกรมไว้เพื่อเปลี่ยน Tool ใหม่ จากนั้น Software SUPER-DNC สามารถส่งต่อข้อมูลโปรแกรม NC Data ในบรรทัดต่อไปได้ โดยไม่ต้องเริ่มงานใหม่ทั้งหมด
4. สามารถกำหนด Protocols พิเศษต่างๆ (เครื่องจักรเก่าๆ หรือที่ไม่แพร่หลายในตลาด) โปรแกรม SUPER-DNC สามารถติดต่อกับเครื่องจักรกลระบบ CNC ที่มี Protocol ที่แตกต่างกันได้อย่างหลากหลายและกว้างขวาง (Special Protocols for CNC Machines)
5. การทำงานแบบ Auto-Search สำหรับส่ง Sub Programs หลายๆ โปรแกรมเรียงไปตามลำดับไปยังเครื่องจักรเป้าหมาย
6. OPTION การแจ้งเตือนโดยอัตโนมัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ (Notify User for Events such as cutting finish) เช่น เมื่อกัดงานเสร็จแล้ว หรือเกิดการหยุดกัดงานโดยไม่คาดคิด SUPER-DNC สามารถติดต่อด้วย Special GPRS Data modem เพื่อส่งแจ้งเตือนไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile phone) ด้วย E-mail หรือ SMS Message ของผู้ใช้ได้โดยอัตโนมัติเพื่อให้ผู้ใช้ทราบและดำเนินการต่อไปได้

ตัวอย่างการทำงานของ DNC



เครื่องจักร NC

ความหมายของ NC

NC  ย่อมาจาก Numerical Control หมายถึงการควบคุมการทำงานของเครื่อง NC ด้วยคำสั่งเชิงตัวเลขและตัวอักษรที่ถูกสร้างขึ้นมาในรูปของคำสั่งซึ่งก็คือ โปรแกรม NC. ระบบ NC ซึ่งนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1950 ซึ่งส่วนมากจะถูกนำมาใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องมือกลเป็นส่วนใหญ่.ในปัจจุบันระบบ NC จะถูกแทนที่ด้วยระบบ CNC เกือบทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากว่าในระบบ NC ไม่มีคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยในการทำงาน  อีกทั้งเครื่องจักรที่ถูกควบคุมด้วย NC  ก็ไม่มีการผลิตออกมาใช้งานแล้ว.

ตัวอย่างการทำงานของ NC






ระบบ AS/RS

                                 ระบบ AS/RS ระบบเทคโนโลยีกับการจัดการคลังสินค้า                ระบบเทคโนโลยีเพื่อการจัดการคลัง...